ข้อกำหนดลวดอัดแรงผ่านเสาในพื้น POST TENSION

เกร็ดความรู้ในระบบพื้น POST TENSION โดย บริษัท เอสเอ็นพี โพส เท็นชั่น จำกัด

ข้อกำหนดลวดอัดแรงผ่านเสาในพื้น POST TENSION

     ACI318 เป็น CODE หนึ่งที่ใช้เป็นข้อกำหนดในการออกแบบพื้น POST TENSION เช่นเดียวกับการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ข้อกำหนดเกี่ยวกับลวดอัดแรงผ่านเสามีกล่าวไว้ใน บทที่ 18 PRESTRESSED CONCRETE ในหัวข้อ 18.12 SLAB SYSTEMS ข้อ 18.12.4 กล่าวว่า “ต้องมีลวดอย่างน้อยสองเส้นวิ่งผ่านภายในพื้นที่หน้าตัดวิกฤติเหนือเสา” ซึ่งระบุไว้เช่นนี้จนถึง ACI318 ปี 2005 จะเห็นว่าใน CODE ไม่ได้ระบุขนาดของลวดอัดแรงและสามารถอยู่นอกเสาได้ แต่ต้องอยู่ในหน้าตัดวิกฤติ แต่ใน ACI318 ปี 2008 มีข้อกำหนดเพิ่มเติม เกี่ยวกับระบบพื้นกล่าวไว้ในหัวข้อที่ 18.12.6 และ 18.12.7 ดังนี้

     “18.12.6 ในพื้น POST TENSION ระบบไร้แรงยึดเหนี่ยว(UNBONDED SYSTEM) จะต้องมีลวดเหล็กกล้าตีเกลียวสำหรับคอนกรีตอัดแรงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12.7 MM หรือใหญ่กว่า อย่างน้อย 2 เส้น วางผ่านหรือยึดติดในทั้งสองทิศทางของเสาโดยจะต้องอยู่ภายในพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยเหล็กเสริมยืนของเสา สำหรับในบริเวณภายนอกเสาและหน้าบริเวณหมวกหัวเสา (SHEAR CAP) ลวดทั้งสองกลุ่มนี้จะต้องวิ่งอยู่ใต้ลวดที่อยู่ในแนวตั้งฉาก ในตำแหน่งที่ลวด 2 เส้นนี้จะต้องถูกยึดอยู่ภายในพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยเหล็กเสริมยืนของเสา สมอยึดจะต้องพ้นจากแนวกึ่งกลางเสา”



1. ลวดแนว BAND อย่างน้อย 2 เส้น ผ่านเสา เมื่อผ่านเสาแล้วจะอยู่ใต้ลวดในทิศทางตั้งฉาก
2. ลวดแนว UNIFORM อย่างน้อย 2 เส้น ผ่านเสา เมื่อผ่านเสาแล้วจะอยู่ใต้ลวดในทิศทางตั้งฉาก

     “18.12.7 ในกรณีที่ไม่สามารถวางลวดตามที่กำหนดไว้ในหัวข้อ 18.12.6 ได้ จะต้องมีเหล็กเสริมล่างวางในพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยเหล็กเสริมยืนของเสาทั้งสองทิศทางที่ตั้งฉากกัน โดยปริมาณเหล็กเสริมมีค่าเท่ากับ 1.5เท่าของเหล็กเสริมต่ำสุดตามสมการที่ 10.3 ของ ACI CODE และจะต้องไม่น้อยกว่า 21BWD/FY โดยที่ BW คือความกว้างของเสาที่เหล็กเสริมผ่าน ระยะยื่นของเหล็กเสริมจะต้องยื่นออกไปจากเสาไม่น้อยกว่าระยะฝังตามหัวข้อที่ 12.2.1 ของ ACI CODE”

สมการที่10.3

จากหัวข้อที่ 18.12.6

ลวดอัดแรงที่ผ่านเสาจะทำหน้าที่รับพื้นที่เสียหายจากแรงเฉือนเจาะทะลุ โดยแขวนไว้ไม่ให้หล่นไปด้านล่าง
     - สำหรับงานพื้น POST TENSION ระบบมีแรงยึดเหนี่ยว (BONDED SYSTEM) ใน 1 TENDON มีลวด 2-5 เส้นอยู่ภายในท่อ CORRUGATED FLAT SHEATH ทำให้เป็นการยากที่ลวดจะผ่านเสา ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหัวข้อ18.12.6 จึงจะต้องเสริมเหล็กตามข้อ 18.12.7 แทน

- นอกจากนี้จะเห็นว่าถ้าลวดอัดแรงผ่านเสาไม่ได้ แล้วเลือกวิธีใส่เหล็กเสริมตามข้อที่ 18.12.7 เหล็กเสริมนี้จะอยู่ในตำแหน่งเดียวกับเหล็กเสริมป้องกันการวิบัติอย่างต่อเนื่อง (PROGRESSIVE COLLAPSE) ซึ่งจะต้องใส่เมื่อออกแบบพื้นไร้คานในบริเวณที่ต้องพิจารณาผลของแรงด้านข้างเนื่องจากแผ่นดินไหวร่วมด้วย โดยจะเลือกใส่ปริมาณเหล็กเสริมที่มากกว่า ซึ่งหัวข้อเหล็กเสริมป้องกันการวิบัติอย่างต่อเนื่องจะได้นำมาพูดถึงในโอกาสต่อไป

- ใน ACI318 ปี 2014 ซึ่งเป็นปีจัดพิมพ์ออกมาล่าสุด ได้พูดถึงเรื่องนี้เช่นกัน โดยมีเนื้อหาสอดคล้องกับ ACI318 ปี 2008 โดยมีรายละเอียดอยู่ที่หัวข้อ 8.7.5.6

- สำหรับใน POST-TENSIONING MANUAL SIXTH EDITION ซึ่งจะสอดคล้องกับ ACI318 ปี 2002 ได้กล่าวเกี่ยวกับการวางลวดบริเวณหัวเสาไว้ในหัวข้อ 6.4.2.2 TENDONS OVER COLUMN SUPPORTS FOR TWO-WAY SLABS หน้าที่ 123 ซึ่งใช้ได้ทั้งแผ่นพื้นไร้คอนระบบมีแรงยึดเหนี่ยวและไร้แรงยึดเหนี่ยวดังนี้

- “ การจัดวางเหล็กเสริมทั้งในแนว BAND และ แนว UNIFORM บริเวณเหนือเสา จะต้องให้รายละเอียดให้ง่ายต่อการเข้าใจของผู้ปฏิบัติงาน โดยการเสริมเหล็กเสริมบนบริเวณหัวเสาภายในแสดงดังรูป


เรียบเรียงโดย

ภาคภูมิ วานิชกมลนันท์ (วย. 1924)

เอกสารอ้างอิง

1. ACI COMMITTEE 318; “BUILDING CODE REQUIREMENTS FOR STRUCTURAL CONCRETE (ACI 318-02) AND COMMENTARY”

2. ACI COMMITTEE 318; “BUILDING CODE REQUIREMENTS FOR STRUCTURAL CONCRETE (ACI 318-05) AND COMMENTARY”

3. ACI COMMITTEE 318; “BUILDING CODE REQUIREMENTS FOR STRUCTURAL CONCRETE (ACI 318-11) AND COMMENTARY”

4. ACI COMMITTEE 318; “BUILDING CODE REQUIREMENTS FOR STRUCTURAL CONCRETE (ACI 318-14) AND COMMENTARY”

5. M.E. KAMARA, L.C. NOVAK; “NOTES ON ACI 318-11 BUILDING CODE REQUIREMENTS FOR STRUCTURAL CONCRETE WITH DESIGN APPLICATION”

6. PTI POST-TENSIONING INSTITUE; “POST - TENSIONING MANUAL” SIXTH EDITION

ดาวน์โหลดบทความ

DownloadPDF DownloadPDF

แชร์เกร็ดความรู้ : Share knowledge

Copyright©2016 SNP-POST.COM All Rights Reserved.