อิทธิพลของการบ่มต่อการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตในพื้น POST TENSION

เกร็ดความรู้ในระบบพื้น POST TENSION โดย บริษัท เอสเอ็นพี โพส เท็นชั่น จำกัด

อิทธิพลของการบ่มต่อการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตในพื้น POST TENSION

การเทคอนกรีตพื้น POST TENSION ส่วนใหญ่จะเป็นการเทคอนกรีตในบริเวณกว้าง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิด PLASTIC SHRINKAGEจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมคุณภาพการทำงานโดยเบื้องต้นจะต้องมีการปาดหน้าผิวพื้นหลังเทคอนกรีตในขณะที่คอนกรีตอยู่ในช่วงพลาสติกเพื่อเก็บรอยร้าวที่ผิวเบื้องต้นและปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตคือ ”การบ่ม”


การบ่มเป็นกรรมวิธีที่ทำให้ปฏิกิริยาไฮเดรชั่นของปูนซีเมนต์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์โครงสร้างของเนื้อซีเมนต์จะแน่นขึ้นและคอนกรีตจะมีความแข็งแรง

จากกราฟพบว่าเส้น MOIST-CURE DENTIRE TIME หรือการบ่มเปียกตลอดเวลาจะให้กำลังอัดสูงสุด และจะมีเส้นกราฟที่ต่ำลง ตามอายุของการบ่ม จนต่ำสุดจะเป็นเส้น IN LABORATORY AIR ENTIRE TIME คือปล่อยไว้ในอากาศในห้องทดลองในสภาพการทำงานจริงมีการบ่มได้หลายวิธีแต่ก็ยังพบว่าบางโครงการมีการแตกร้าวหรือกำลังคอนกรีตไม่ถึงตามที่ออกแบบไว้จึงมีคำถามว่าการบ่มแต่ละวิธีมีคุณภาพเทียบเท่ากับการบ่มเปียกตลอดเวลาหรือไม่ถ้าไม่เท่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไรเมื่อได้คำตอบจะเป็นประโยชน์ในการปรับวิธีการทำงานทำให้การเทคอนกรีตพื้นPOST TENSIONได้คุณภาพตามที่ออกแบบไว้

    งานวิจัยของสถานศึกษาภายในประเทศก็เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการให้ความรู้โดยมีบทความที่เสนอเกี่ยวกับอิทธิพลของการบ่มต่อการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดยอภิชิต คำภาหล้า, โกสีห์ เทียนลม และจิระยุทธ สืบสุขมีเนื้อหาที่นำเสนอการทดลองการบ่มด้วยวิธีต่างๆในที่นี้ขอนำบทความบางส่วนมานำเสนอเพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการทำงาน
ในบทความนี้จะทำการทดลองโดยเตรียมตัวอย่างคอนกรีตโดยกำหนดกำลังอัดคอนกรีตที่28วันเท่ากับ400กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร(FC’=400KSC)ใช้แบบหล่อตัวอย่างทดสอบทรงลูกบาศก์(CUBE)ขนาด 0.15X0.15X0.15M เมื่อตัวอย่างได้อายุ 24 ชั่วโมง ถอดตัวอย่างออกจากแบบหล่อแล้วนำไปบ่มด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 5 วิธี ดังนี้

     1. การบ่มด้วยน้ำ
     2. การบ่มด้วยกระสอบเปียก 7 วัน
     3. การบ่มด้วยการหุ้มพลาสติก
     4. การบ่มโดยใช้สารคอนกรีต
     5. การบ่มทิ้งไว้ในอากาศ

รายละเอียดการบ่มด้วยวิธีต่างๆ แสดงตามตารางด้านล่าง

วิธีการ รายละเอียด
1.การบ่มโดยการใช้น้ำ นำตัวอย่างคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วแช่ลงในภาชนะที่ใส่น้ำเตรียมไว้ บ่มตามระยะเวลา
2.การบ่มโดยการใช้กระสอบเปียกคลุม นำกระสอบที่เปียกชุ่มน้ำมาคลุมตัวอย่างคอนกรีต โดยทำการคลุมให้ทั่ว และ ฉีดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ 7 วัน จากนั้นบ่มอากาศตามระยะเวลา
3.การบ่มโดยการใช้แผ่นพลาสติกคลุม นำแผ่นพลาสติกใสคลุมตัวอย่างคอนกรีตทรงลูกบาศก์ให้มิดชิดทั้งก้อนตัวอย่าง บ่มตามระยะเวลา
4.การบ่มโดยใช้สารบ่มคอนกรีต ทำการฉีดพ่นน้ำยาบ่มคอนกรีตลงบนพื้นผิวของตัวอย่างให้ทั่วทั้งก้อน ซึ่งจะทำการฉีดพ่น 2 ครั้งดังนี้ ครั้งแรก ทำการฉีดพ่นสารบ่มคอนกรีตที่ผิวด้านหน้าของคอนกรีตเมื่อคอนกรีตเริ่มแข็งตัว แต่ยังไม่ได้ทำการถอดแบบ ครั้งที่สอง ฉีดพ่นสารบ่มคอนกรีตเมื่อทำการถอดแบบตัวอย่างคอนกรีตที่แข็งตัวแล้วทันที โดยฉีดให้ทั่วทั้งก้อนตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดในแนวตั้งฉากกับการฉีดครั้งแรก และ ทิ้งไว้
5.การบ่มโดยทิ้งไว้ในอากาศ เมื่อตัวอย่างคอนกรีตแข็งตัวแล้ว และทำการถอดแบบ วางตัวอย่างคอนกรีตทิ้งไว้ในอากาศโดยไม่มีการบ่ม ตามระยะเวลา

เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นกราฟความสัมพันธ์ดังรูปด้านล่าง

รูปด้านบนจะเป็นกราฟแสดงการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต FC’ 400KSC โดยแปรผันตามอายุและวิธีการบ่ม จากรูปจะพบว่า ทุกๆ วิธีการบ่ม กำลังรับแรงอัดของคอนกรีตจะมีค่าสูงขึ้นตามเวลาที่บ่ม สามารถแบ่งการพัฒนากำลังรับแรงอัดได้เป็นสองช่วง ดังนี้ ช่วงแรก 1-28 วัน ช่วงนี้จะมีการพัฒนากำลังของคอนกรีตอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัดเจนช่วงสุดท้ายหลังอายุบ่ม 28 วันอัตราการพัฒนากำลังจะมีค่าน้อย จนคงที่กราฟเริ่มเป็นเส้นตรง กำลังรับแรงอัดของคอนกรีตมีค่าสูงที่สุด โดยวิธีการบ่มน้ำ และมีค่าลดลงโดยเรียงลำดับวิธีการบ่มที่ได้กำลังอัดสูงสุดไปหาต่ำสุดดังนี้ การบ่มด้วยกระสอบเปียก การบ่มด้วยพลาสติก การบ่มด้วยน้ำยาคอนกรีต และการบ่มโดยทิ้งไว้ในอากาศจะทำให้คอนกรีตมีกำลังอัดต่ำที่สุดและจากข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้คณะผู้ทำการวิจัยได้นำเสนอสมการในการทำนายกำลังอัดของคอนกรีตที่อายุต่างๆ โดยแยกตามวิธีการบ่มโดยมีสมการดังนี้

A และ B คือพารามิเตอร์สำหรับแต่ละวิธีการบ่ม แสดงดังตาราง

วิธีการ A B
บ่มน้ำ
0.1296
0.4911
กระสอบเปียก
0.1264
0.5194
พลาสติกคลุม
0.1153
0.5643
สารบ่ม
0.1090
0.5487
อากาศ
0.0941
0.5603

1.การบ่มด้วยน้ำ


2.การบ่มโดยใช้กระสอบคลุม

3.การบ่มโดยใช้พลาสติกคลุม

4.การบ่มโดยใช้สารบ่มคอนกรีต

5.การบ่มโดยทิ้งไว้ในอากาศ

ดังนั้น เพื่อทำให้การเทคอนกรีตพื้น POST TENSION มีกำลังอัดตามที่ออกแบบไว้ ควรบ่มด้วยการขังน้ำหรืออย่างน้อยควรบ่มด้วยกระสอบเปียกเพื่อเป็นการป้องกันการแตกร้าวและทำให้พื้นมีกำลังรับแรงอัดตามที่ออกแบบไว้ นอกจากนี้ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังศึกษาผลของอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ (WATER-CEMENT RATIO, W/C) ต่อกำลังอัดคอนกรีตและวิธีการบ่มซึ่งสามารถดูได้จากงานวิจัยฉบับเต็มจะเห็นว่างานวิจัยหรือบทความทางวิชาการจากสถานศึกษามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการทำงานให้มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งนี้ถ้ามีงานวิจัยหรือบทความทางวิชาการอื่นๆที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาทางทีมงานSNP POST TENSION จะนำมาเสนอในครั้งต่อไป

เรียบเรียงโดย

ภาคภูมิ วานิชกมลนันท์ [วย. 1924]


ดาวน์โหลดบทความ

DownloadPDF DownloadPDF

แชร์เกร็ดความรู้ : Share knowledge

Copyright©2016 SNP-POST.COM All Rights Reserved.