เหล็กเสริมป้องกันการวิบัติอย่างต่อเนื่อง

เกร็ดความรู้ในระบบพื้น POST TENSION โดย บริษัท เอสเอ็นพี โพส เท็นชั่น จำกัด

เหล็กเสริมป้องกันการวิบัติอย่างต่อเนื่อง

      ในการออกแบบแผ่นพื้นไร้คานในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย หลายครั้งที่มีคําถามว่าจังหวัดไหนจําเป็นต้องใส่เหล็กเสริมป้องกันการวิบัติอย่างต่อเนื่องบ้าง บางจังหวัดไม่ต้องใส่ใช่หรือไม่ เราควรเริ่มต้นด้วยการทําความเข้าใจ หน้าที่ของเหล็กเสริมป้องกันการวิบัติอย่างต่อเนื่องก่อน โดยเหล็กเสริมชุดนี้มีหน้าที่ป้องกันการวิบัติของพื้น เมื่อพื้นเกิด ความเสียหายเนื่องจากแรงภายนอกกระทําเกินกว่ากําลังที่พื้นได้ออกแบบไว้ เหล็กชุดนี้จะทําหน้าที่หิ้วพื้นไว้ไม่ให้หล่นลง ไปทําอันตรายกับผู้คนที่อยู่ชั้นล่าง หรือหล่นลงไปกระแทกกับพื้นชั้นล่าง ทําให้เกิดความเสียหาย จนพื้นชั้นล่างเกิดการวิบัติ และเกิดการวิบัติอย่างต่อเนื่องลงไปถึงชั้นล่างสุด

      จากนั้นลองมาดูกันว่ากฎหมายและมาตรฐานการออกแบบ พูดถึงเหล็กเสริมป้องกันการวิบัติอย่างต่อเนื่องไว้ว่า อย่างไร ในกฎกระทรวงกําหนดการรับนํ้าหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคาร ในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 ให้ดูที่ข้อที่ 4 ของกฎกระทรวง ได้กําหนดให้การออกแบบ โครงสร้างอาคารตามประเภทที่ระบุในข้อที่ 3 ของกฎกระทรวง ให้ผู้ออกแบบคํานึงถึง การจัดให้โครงสร้างทั้งระบบอย่าง น้อยให้มีความเหนียวเทียบเท่าความเหนียวจํากัด (LIMITED DUCTILITY) ตามมาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อ ต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวของกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.1301-54) ซึ่งหมายถึงจะต้องมีเหล็กเสริม ป้องกันการวิบัติอย่างต่อเนื่อง ปริมาณไม่น้อยกว่า

ตามที่กําหนดในข้อที่ 4.8 ของ มยผ.1301-54

ย้อนกลับมาดูที่กฎกระทรวงข้อที่ 3
      เพื่อดูว่าอาคารประเภทไหนและบริเวณใดที่ถูกบังคับให้ใส่เหล็กเสริมตามนี้ สามารถสรุปเป็นตารางดังที่เคยนําเสนอในบทความที่ผ่านมาดังนี้

*บริเวณเฝ้าระวัง = พื้นที่หรือบริเวณที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวได้แก่จังหวัด กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา สุราษร์ธานี
บริเวณที่ 1 = พื้นที่หรือบริเวณที่เป็นดินอ่อนที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกล ได้แก่จังหวัด กรุงเทพ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร
บริเวณที่ 2 = พื้นที่หรือบริเวณที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่จังหวัด กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน

       ในพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นบริเวณเฝ้าระวัง บริเวณที่ 1 และ บริเวณที่ 2 ตามกฎกระทรวง ยังจําเป็นต้องใส่เหล็ก เสริมป้องกันการวิบัติอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ในมาตรฐานการออกแบบในประเทศยังไม่มีการกล่าวถึง แต่ใน ACI318 ที่มี การพัฒนาปรับปรุงจากงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ในปี 2008 ข้อที่ 18.12.6 ได้กําหนดไว้ในการออกแบบระบบพื้นคอนกรีตอัด แรงโดยทั่วไปว่า ในกรณีของพื้นระบบ UNBONDED จะต้องมีลวดอย่างน้อยเส้นผ่านศูนย์กลาง 12.7MM จํานวน 2 เส้นวิ่ง ผ่านภายในเหล็กยืนของเสาทั้งสองทิศทาง และในข้อที่ 18.12.7 กล่าวว่าถ้าเป็นพื้นระบบ BONDED หรือลวดอัดแรงไม่สามารถวิ่งผ่านแกนเสาได้ ให้เสริมเหล็กล่างในแต่ละทิศทางปริมาณไม่น้อยกว่า

และไม่น้อยกว่า 

      แต่ในความเป็นจริง ACI318 เป็นข้อกําหนดในการออกแบบที่ผู้ออกแบบโครงสร้างเป็นผู้ระบุไว้ใน DESIGN CRITERIA ซึ่งบางท่านอาจจะระบุ ACI318 ในปี ก่อนหน้า 2008 ซึ่งไม่ได้บอกให้ใส่เหล็กเสริมล่างในการออกแบบพื้นคอนกรีต อัดแรง โดยมุมมองด้านการออกแบบโครงสร้าง การที่ ACI318‐2008 กําหนดให้ใส่ก็เพื่อความปลอดภัย ป้องกันไม่ให้เกิด การวิบัติอย่างต่อเนื่องขึ้น ถึงแม้เหล็กเสริมชุดนี้ จะไม่ได้ช่วยในการรับน้ำหนักใช้งานแต่อย่างใด แต่ควรใส่ไว้เพื่อความ ปลอดภัยของอาคารไม่ให้เกิดการวิบัติ นอกจากนี ้ควรจะอธิบายให้เจ้าของอาคารมีความเข้าใจหน้าที่ของเหล็กเสริมชุดนี้ เข้าใจถึงเหตุผลของการเสริมเหล็กดังกล่าว ซึ่งเปรียบเสมือนถุงลมนิรภัยในรถยนต์ ที่ไม่ได้ช่วยให้รถวิ่งได้แต่อย่างใด แต่ เมื่อเกิดอุบัติเหตุสามารถสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถได้ ดังนั้นเจ้าของอาคารควรจะมีสิทธิ์ในการตัดสินใจว่าต้องการ ถุงลมนิรภัยติดไว้ในรถหรือไม่

PROGRESSIVE COLLAPSE ANALYSIS



เรียบเรียงโดย
ภาคภูมิ วานิชกมลนันท์ [วย. 1924]

ดาวน์โหลดบทความ

DownloadPDF DownloadPDF

แชร์เกร็ดความรู้ : Share knowledge

Copyright©2016 SNP-POST.COM All Rights Reserved.